นโยบาย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)
วิสัยทัศน์และพันธกิจ “ชุมชนน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี ประเพณีงดงาม คนมีคุณภาพและการบริหารจัดการที่ดีแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”
วิสัยทัศน์
องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งตาลอง ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กรว่าจะมีทิศทางการพัฒนาไปในทิศทางใดในอนาคตข้างหน้า ตำบลโป่งตาลองเป็นตำบลขนาดเล็กที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายตามพื้นที่ของตน มีความสงบสุขมีทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดี และคาดการณ์ว่าในอนาคตจะต้องเป็นตำบลที่น่าอยู่อาศัย เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
“ชุมชนน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมดี ประเพณีงดงาม คนมีคุณภาพและการบริหารจัดการที่ดีแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”
พันธกิจ
1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคตและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
2. การจัดให้มีน้ำบริโภคที่สะอาด น้ำอุปโภคที่มีคุณภาพและเพียงพอ และการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ให้มีคุณภาพใช้อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อการประกอบอาชีพ
3. การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการ วางแผนพัฒนา การตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง
4. การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี อาชีพรายได้ที่มั่นคง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ครอบครัวและสังคมมีสุข มีสุขภาพอนามัยที่ดี ขจัดปัญหาความยากจน แก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุข และการส่งเสริม/สงเคราะห์เด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ยากไร้ ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยว
5. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการจัดกาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเกิดการใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและทัดเทียมในระดับประเทศ
7. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
8. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมาย
ตำบลโป่งตาลองมีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดเป้าประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้บรรลุตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนด ดังนี้
1. ระบบการคมนาคมขนส่งมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
2. มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และประชาชน
3. การบริหารและการปฏิบัติงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือทุกภาคส่วนในการพัฒนาท้องถิ่น
4. การพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดการด้านสวัสดิการสังคม เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการพัฒนาอาชีพ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการบำรุงรักษา ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู
6. เด็กเล็ก เด็กนักเรียนได้รับการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันและทัดเทียมในระดับประเทศ
7. รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และเด็กนักเรียนประชาชนได้รับการออกกำลังกาย
8. เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้ที่มั่นคง และสามารถดำรงชีพได้อย่างพอเพียง
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุลและมั่นคงของอาหารและพลังงาน
4. ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างปัจจัยแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์หลักที่ คสช. ยึดถือเป็นแนวทางในปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 ด้าน ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน
4. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
6. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
7. ยุทธศาสตร์ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ ให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
8. ยุทธศาสตร์ในเรื่องการปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคตให้ทัดเทียมอาเซียนและประชาคมโลก
9. ยุทธศาสตร์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชั่นอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
วิสัยทัศน์ “โคราช เมืองหลวงแห่งภาคอีสาน”
(นิยาม เมืองหลวง หมายถึงเมืองรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ศูนย์กลาง Logistic อุตสาหกรรม เกษตรแปรรูปอาหาร มันสำปะหลัง และพลังงานสำคัญของประเทศและสร้างสังคมสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพให้โคราชเป็นเมืองน่าอยู่รองรับประชาคมอาเซียน)
เป้าประสงค์
1. พัฒนาจังหวัด เป็นเมืองหลักรองรับความเจริญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อมุ่งสู่เมืองที่น่าอยู่
2. พัฒนาสังคมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน
3. พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่ง พลังงานสะอาด และศูนย์กระจายสินค้ารองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. พัฒนาสินค้าเกษตรสีเขียวและอาหารปลอดภัยมุ่งสู่ครัวโลก
5. เสริมสร้างอุตสาหกรรมสะอาดและการท่องเที่ยวสีเขียว
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. พัฒนาปัจจัยแวดล้อมทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการเกษตรและเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาไปสู่ครัวของโลก และฐานการผลิตพลังงานสะอาด
2. พัฒนาระบบโลจิสติกส์และการค้าเพื่อเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคอีสานและรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน